วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561

Big Crises ตอนที่ 2

ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีแค่สองสามประเทศที่มีวินัยทางการเงินที่ดีจะผ่านวิกฤตหนี้ (Debt Crises) เนื่องจากเป็นวัฏจักรวงจรจิตวิทยาของมนุษย์ ทำให้เกิดฟองสบู่ (Bubble) และฟองสบู่แตก (Bust)
รัฐบาลแต่ละประเทศอยากจะทำให้มีวินัยทางการเงินที่ดี แต่มันจะแลกกับการเติบโตของประเทศที่ไม่ดี เมื่อมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับนโยบายทางการเงินจะทำให้เกิดการสร้างเครดิตที่ง่าย นั่นคือสาเหตุของวัฎจักรหนี้ (Debt Cycle)
แล้วทำไมถึงมีวัฏจักรวิกฤตเศรษฐกิจ
ลองมองในมุมหนี้ส่วนบุคคล สมมติคุณกู้เงินมาแต่คุณไม่สามารถหารายได้มาพอจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นเพียงพอ ในอนาคตคุณก็ต้องโดนบังคับขายทรัพย์สิน และล้มละลาย มองดูรูปแบบการก่อหนี้ของบุคคลจะมองเห็นภาพว่ามันคือวัฏจักรการเกิดวิกฤตเพราะคุณไม่มีทางหาเงินมาจ่ายเงินต้นได้
มองในมุมของเกมเศรษฐีจะเข้าใจง่ายมาก ก่อนเริ่มเกมส์ผู้เล่นจะได้รับเงินสดจำนวนมาก และทรัพย์สินจำนวนหนึ่ง โดยเงินสามารถเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินได้ เมื่อเล่นเกมไปเรื่อยๆ ผู้เลนจะมีทรัพย์สินเป็นบ้านและโรงแรม ผู้เล่นคนอื่นที่เล่นมาตกที่ทรัพย์สินของคนอื่นต้องจ่ายเป็นค่าเช่าให้กับเจ้าของที่
พอเงินสดเริ่มขาดมือ ทรัพย์สินบางแห่งต้องโดนบังคับขายในราคาที่ถูกเพื่อเอาเงินสดมาใช้จ่าย
เกมส์เศรษฐีนี้ เมื่อต้นเกมส์ ผู้ชนะคือคนมีทรัพย์สิน แต่ตอนท้ายเกมส์ เงินสดคือพระเจ้า ดังนั้นคนเล่นเกมส์นี้เก่งคือคนรู้จังหวะในการผสมผสานระหว่างเงินสดและทรัพย์สินให้ได้ จังหวะไหนควรเก้บเงินสด จังหวะไหนควรหาเงินสดให้ทันพอค่าใช้จ่าย จังหวะไหนลดรออย่าก่อหนี้เพิ่มเพื่อลดความเสี่ยง
กลับมามองในรูปแบบวงจรเศรษฐกิจ เศรษฐกิจจะโตได้เกิดการการก่อหนี้ทางการเงิน นำมาลงทุนพัฒนาทรัพย์และสาธารณูปโภคในประเทศยกตัวอย่างเช่นประเทศเกิดใหม่ (Emerging Country) ตอนแรกประเทศเกิดใหม่กำลังพัฒนาจะมีค่าแรงงานที่ถูกแต่สาธารณูปโภคที่ไม่ดี เมื่อประเทศเริ่มสร้างสาธารณูปโภค ทำให้เกิดการพัฒนาและทำให้การส่งออกดีขึ้น ทำให้รายได้เข้าประเทศมากขึ้น แต่อย่าลืมว่าเมื่อมีการแข่งขันเรื่องค่าแรงและค่าแรงที่เพิ่มขึ้นในประเทศจะทำให้การส่งออกโตช้าลงเมื่อเทียบกับประเทศที่กำลังพัฒนาที่ค่าแรงต่ำกว่า มันจะทำให้เกิดภาวะฟองสบู่(Bubble) เมื่อมีการคาดหวังรายได้เกินความเป็นจริงทั้งที่รายได้ในอนาคตไม่เพียงพอต่อดอกเบี้ยและเงินต้นที่ต้องใช้คืน เมื่อนั้นจะทำให้เกิดภาวะฟองสบู่แตกเพราะไม่สามารถจ่ายหนี้ได้
Ray Dalio ได้บอกว่า
  1. ถ้าหนี้อยู่ในรูปเงินของสกุลเงินต่างประเทศจะจัดการยากกว่าสกุลเงินในประเทศเมื่อเกิดวิกฤตทางการเงินของโลก
  2. เมื่อเกิดวิกฤตหนี้และสามารถแก้ปัญหาวิกฤตได้ยังไงมันต้องกระทบกับประชาชนไม่ทางใดทางนึงแน่นอน
การแก้ปัญหาเมื่อเกิดวิกฤตหนี้เพื่อจะทำให้มันลดลงมีอยู่ 4 วิธี
1) เพิ่มความเข้มงวดและมีวินัยทางการเงิน Austerity (เช่นใช้จ่ายน้อยลง)
2) ไม่จ่ายหนี้และดอกเบี้ย หรือชักดาบเพื่อมาเจรจาต่อรอง Debt defaults/restructurings
3) ธนาคารกลางพิมพ์เงินออกมากเพื่อเพิ่มกำลังซื้อ The central bank “printing money” and making purchases (or providing guarantees)
4) ย้ายเงินและเครดิตไปให้ประเทศที่ต้องการเงินเพื่อเป็นเจ้าหนี้ซะเอง Transfers of money and credit from those who have more than they need to those who have less
4 วิธีนี้จะมีผลกระทบกกับเศรษฐกิจต่างกัน บางอย่างทำให้เกิดเงินเฟ้อหรือการเติบโตหยุดชะงัก บางอย่างจะทำให้เกิดเงินฝืด
ทางรัฐบาลระมัดระวังในการแก้ปัญหาหนี้โดยต้องทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจน้อยที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เปรียบเทียบผลตอบแทนและความเสี่ยงการซื้อแฟรนไชส์ร้านกาแฟระดับประเทศกับการลงทุนในหุ้น PTT

เชื่อว่าหลายๆท่านที่ไม่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง ส่วนใหญ่จะมีความฝันอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองซักอย่างนึง อยากเป็นเจ้านายตัวเองไม่ต้องเป็นลูกน...