วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561

ธนาคารฟรีค่าธรรมเนียมโอนทาง mobile กับ Internet ธนาคารก็มีแต่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ยังไงก็ไม่มีขาดทุน

เมื่อวานกับวันก่อนมีข่าวฮือฮา ที่ ธนาคารยักษ์ใหญ่ เปิดศึก "ยกเลิกค่าธรรมเนียม" ทั้งโอน จ่าย ถอน เติมเงิน บนแอพพลิเคชั่น มือถือ และอินเทอร์เน็ต 
ทำให้หุ้นธนาคารในตลาดหลักทรัพย์ตกใจกับข่าวและร่วงกันกระจาย มีบทวิเคราะห์หลากหลายจากหลายๆเพจ ซึ่งวิเคราะห์ได้น่าสนใจมาก
แต่ผมก็ยังมีข้อสงสัยบางอย่าง ผมเลยไปค้นข้อมูลหลายๆแห่งมาประกอบ และเขียนบทความนี้ขึ้นมา โดยมองอีกมุมหนึ่งในฐานะมุมมองของเจ้าของธุรกิจนะครับ (เป็นมุมมองความเห็นส่วนตัวนะครับ)
ดูยังไงๆธนาคารก็ไม่เสียเปรียบและไม่ขาดทุน กำไรจะมีแต่เติบโตเหมือนเดิม
ทำไมผมมองแบบนั้น ลองมาดู รูปที่ 2 งบการเงินของธนาคารไทยพาณิชย์ ปี 2560 ด้านล่าง ตรงรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ
ปี2560 เพิ่มมากขึ้นจาก 34000  ล้านบาท ในปี2559 เป็น 36000 ล้านบาท
ในไตรมาสแรกของปี 2561 คาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ ก็น่าจะยังไม่มีผลอะไรมาก เพราะไตรมาสแรกยังไม่ประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียม ทั้งโอน จ่าย ถอน เติมเงิน บนแอพพลิเคชั่น มือถือ และอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะเริ่มในไตรมาส 2 ของปี 2561
แต่การวิเคราะห์รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการของธนาคารทั้งหมดว่ารายได้ที่ยกเลิกค่าธรรมเนียมลดลงไหม เราต้องไปแยกประเภทของค่าธรรมเนียมและการบริการ
ในงบการเงินของแต่ละธนาคารในตลาดหลักทรัพย์ไม่แยกประเภทให้เรา ซึ่งผมพยายามสืบค้นมาแต่ก็หาไม่ได้
ไปเจอข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรูปที่ 3 รายได้ค่าธรรมเนียมและค่าบริการ แยกแต่ละประเภท ของทุกธนาคาร 
รายได้ค่าธรรมเนียมและค่าบริการ จะมีหลายประเภท เช่น  การรับรอง รับอาวัล และค้ำประกัน บริการบัตร ATM บัตรเดบิต และบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ บริการโอนเงินและเรียกเก็บเงิน บัตรเครดิต เป็นต้น 
ซึ่งข้อมูลรายได้ค่าธรรมเนียมแต่ละประเภท ผมหาของธนาคารไทยพาณิชย์อย่างเดียวไม่มี ได้แต่ของทุกธนาคารมารวมกัน
ผมจึงใช้ข้อมูลนี้แทน เพราะต่อไปอนาคตทุกธนาคารน่าจะยกเลิกค่าธรรมเนียมทั้งหมด
รายได้จากค่าธรรมเนียและบริการของทุกธนาคารรวมกัน เมื่อแยกประเภทออกมา 5 อันดับแรกที่มีสัดส่วนมากที่สุด ตามรูปที่ 4 คือ
1.ค่านายหน้า คิดเป็น 21% ของรายได้ทั้งหมด
2. บัตรเครดิต คิดเป็น 19% ของรายได้ทั้งหมด
3. ค่าธรรมเนียมและบริการอื่น ๆ คิดเป็น 16% ของรายได้ทั้งหมด
4. บริการบัตร ATM บัตรเดบิต และบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ คิดเป็น 16% ของรายได้ทั้งหมด
5. บริการโอนเงินและเรียกเก็บเงิน คิดเป็น 12% ของรายได้ทั้งหมด

ดูจากข้อมูลแล้ว การ"ยกเลิกค่าธรรมเนียม" ทั้งโอน จ่าย ถอน เติมเงิน บนแอพพลิเคชั่น มือถือ และอินเทอร์เน็ต จะกระทบตรงรายได้จากการบริการโอนเงินและเรียกเก็บเงิน
สมมตินะครับ สมมติถ้าต่อไปรายได้ตรงที่คิดเป็น 12% ตัดเป็น 0 เพราะฟรีค่าธรรมเนียมการโอนเงินฟรี (ตามความเป็นจริงมันไม่เท่ากับ 0 แต่เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์)
รายได้ของธนาคารทั้งหมดในไทยจะจะหายไปทั้งหมด 5500 ล้านบาท!!!! (เฉพาะไตรมาส 4 ปี 2560) ดูเหมือนจะเยอะนะครับ
แต่ธุรกิจก็คือธุรกิจ เมื่อรายได้ลดก็ต้องลดต้นทุนลง และหารายได้อย่างอื่นเพิ่ม เพื่อให้มีกำไรให้ธุรกิจอยู่ได้
อย่างแรกที่ธนาคารหลายแห่งประกาศคือลดสาขาและพนักงานลง ตอนนี้ตามข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ทุกธนาคารมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานรวมทั้งหมดคือ 38000 ล้านบาท ในไตรมาส 4 ปี 2560
ถ้าสมมติทุกธนาคารลดสาขาลงและลดพนักงานลงตีตัวเลขคร่าวๆ 15% จะลดต้นทุนลง 5700 ล้านบาทใน 1 ไตรมาส!!!!
เปรียบเทียบหลังจากยกเลิกค่าธรรมเนียม รายได้หาย 5500 ล้านบาท แต่ลดต้นทุนลง 5700 ล้านบาท เหลือกำไรสุทธิ 200 ล้านบาท ในไตรมาสเดียว!!!!!!!!!!! 

ส่วนการหารายได้ทางอื่น เรามาลองดูรูปที่ 4 นะครับ มาดูสัดส่วนรายได้ที่มาจากบัตรเครดิตและ บริการบัตร ATM บัตรเดบิต และบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ มีสัดส่วนรวมกันเท่ากับ 35%
ซึ่งข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย รายได้ส่วนนี้ของทุกธนาคารจะเท่ากับ 18000 ล้านบาท ต่อไตรมาส
ตามรูปที่ 3 รายได้ที่มาจากบัตรเครดิตและ บริการบัตร ATM บัตรเดบิต และบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ นั้นเพิ่มขึ้นทุกๆไตรมาส

ส่วนนึงที่รายได้ส่วนนี้มากขึ้นเพราะธนาคารผลักดันเครื่องรูดบัตร EDC ให้กับทุกร้าน ตามรูปที่ 5 เพื่อให้ลูกค้าชำระเงินได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
โดยเมื่อลูกค้าชำระสินค้าผ่านเครื่อง EDC ธนาคารจะทำการหักค่าธรรมเนียมจากร้านค้า 2-3% เป็นรายได้เข้าธนาคาร ดังรูปที่ 6
ต่อจากนี้รายได้ส่วนนี้จะมากขึ้นเพราะสังคมไทยจะเริ่มเข้าสู่สังคมไร้เงินสด จะใช้เงินสดน้อยลง ชำระเงินสดผ่านบัตรเดบิต เครดิตมากขึ้นทั้งออฟไลน์และออนไลน์

ยังไม่รวมที่ธนาคารจะได้ข้อมูลการโอนถอนจ่ายเงินจากการทำธุรกรรมผ่าน แอพพลิเคชั่น มือถือ และอินเทอร์เน็ต ของคนไทยนะครับ
ข้อมูลตรงนี้จะเยอะมาก และสามารถนำมาวิเคราะห์ต่อยอดได้อีกหลายๆอย่างเช่น การวิเคราะห์การจับจ่ายใช้สอย การเก็บภาษีของรัฐ การออกผลิตภัณฑ์ของธนาคารใหม่ๆเพื่อตอบโจทย์ของลูกค้า
สารพัดการวิเคราะห์เลยครับ
 นี่ยังไม่รวมกับการเตะตัดขา ไม่ให้ Fintech เกิดอีกนะครับ ไม่งั้นมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดอีก และไม่แน่อนาคตเค้าอาจจะลดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินข้ามประเทศอีกนะครับ
มองดูข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมาการยกเลิกค่าธรรมเนียมครั้งนี้ ธนาคารมีแต่ได้กับได้ แต่เค้ากำลังใช้กลยุทธธ์แสร้งถอยเพื่อรุก
ธนาคารไม่น่าห่วงอะไร หุ้นอาจจะตกชั่วคราว แต่ถ้าเมื่อประกาศว่ากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นหลังจากยกเลิกค่าธรรมเนียม หุ้นธนาคารหลายตัวก็อาจจะทำ new high ก็ได้นะครับ


รูปที่ 1 ค่าธรรมเนียมของธนาคาร



รูปที่ 2 งบการเงินของธนาคารไทยพาณิชย์ ปี 2560 ที่มา : http://www.scb.co.th/th/getfile/78/fr


รูปที่ 3 รายได้ค่าธรรมเนียมและค่าบริการ แยกแต่ละประเภท ของทุกธนาคาร

รูปที่ 4 สัดส่วนรายได้แต่ละประเภท ต่อ รายได้ค่าธรรมเนียมและค่าบริการ แยกแต่ละประเภท ของทุกธนาคาร


รูปที่ 5 เครื่องรูดบัตร EDC


รูปที่ 6 ค่าธรรมเนียมในการรูดบัตรที่ ธนาคารเรียกเก็บจากร้านที่มีเครื่อง EDC หลังลูกค้าซื้อสินค้า


บทความนี้ไม่ได้เชียร์หรือแนะนำหุ้นนะครับ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องตัดสินใจด้วยตัวเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เปรียบเทียบผลตอบแทนและความเสี่ยงการซื้อแฟรนไชส์ร้านกาแฟระดับประเทศกับการลงทุนในหุ้น PTT

เชื่อว่าหลายๆท่านที่ไม่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง ส่วนใหญ่จะมีความฝันอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองซักอย่างนึง อยากเป็นเจ้านายตัวเองไม่ต้องเป็นลูกน...