วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2561

สอนการเล่น Forex ไม่ให้เจ๊ง ตอนที่ 3 การหาจุดเข้าและออกด้วย Demand(อุปสงค์)และ Supply (อุปทาน) Zone

1. การหาจุดเข้าและออก มีหลายวิธีก็แล้วแต่เรา ในโลกใบนี้ไม่มีอะไรแน่นอนเราไม่สามารถเอาอดีตมาพยากรณ์อนาคตได้อย่างแม่นยำ 100% พยากรณ์ได้เกิน 50% ก็คือว่าแม่นละ
2.สิ่งหนึ่งในโลก Forex เห็นเค้าใช้หลักเศรษฐศาสตร์เรื่อง Demand and Supply Zone เรื่องอุปสงค์อุปทานเพื่อพยากรณ์ความน่าจะเป็นในการจุดซื้อและขาย
3. เปรียบเทียบดังเช่น เราซื้อทองแท่งถ้าคนส่วนใหญ่คิดว่าราคาต่ำกว่า 20000 เป็นราคาน่าซื้อ เค้าก็ซื้อกัน สมมติตกเหลือ 19500 มีแต่คนแย่งซื้อทองเต็มร้านที่เยาวราชดังข่าวเมื่อเดือนที่แล้ว เพราะเค้าคิดว่ามันเป็นราคาที่น่าซื้อ ซื้อไปก็ไม่น่าติดดอย คืออุปสงค์ Demand มากกว่าอุปทาน Supply ราคาทองมันก็ขึ้นเพราะระหว่าง 19500-20000 ราคาอยู่ในกรอบนี้มีแต่คนซื้อ เราเรียกว่า Demand Zone ราคาทองที่ 19500-20000
4. กลับกัน อุปทาน Supply Zone เราอาจะเห็นทองที่ราคา 21000-21500 เป็นราคาที่สูงเกินไป คนก็ขาย ราคาอยู่ในกรอบ 21000-21500 เท่าไรเราก็ขายเพราะเราเชื่อว่ามันจะลงไปกว่านี้
5. Demand and Supply ตามความคิดผมผิดถูกไม่รู้ มันคือการกำหนดราคาโดยความเชื่อของมนุษย์ ทุกคนมีความเชื่อ แต่สุดท้ายคนส่วนใหญ่จะเชื่อมั่นที่ราคาเท่าไรก็แล้วแต่อนาคตจะบอกได้ เราไม่สามารถพยากรณ์ได้ 100% ที่ถ้าเอาสถิตกับความน่าจะเป็นมาจับมันก็มาสร้างกรอบ Demand และ Supply Zone ได้ช่วงนึงที่มีความน่าจะเป็นสูงกว่า 50%
6. ช่วงเวลาหนึ่ง เราจึงเชื่อ (เน้นคำว่าเชื่อ) การใช้ Demand and Supply Zone มาร่วมในการหาจุดเข้าออกออร์เดอร์เพื่อให้ได้ความเสี่ยงต่ำที่จะขาดทุน
7.หลักของ Demand and Supply Zone ก็คือภาพใหญ่ของแนวรับ (support) แนวต้าน (Resistance) ที่เคยได้ยินกันมา
8.หลักการง่ายๆที่สรุปคือ ถ้าราคาอยู่ใน demand zone ก็ซื้อ และ ไปถึง supply zone เราก็ขาย
9.เท่าที่เทรดและจดสถิติมาในโลก Forex ความแม่นยำในการใช้ demand และ Supply Zone มันเกิน 70% แต่!!!!!!!!มันอยู่ที่จุดออกปิดออร์เดอร์ของเราด้วย ต้องออกให้เป็น
10. เราต้องใช้ Timeframe ใหญ่ๆ เช่นกราฟ Day และ week เป็นต้น แต่ถ้าเราจะใช้ timeframe เล็ก เช่นราย 1 นาทีถึง 1 ชั่วโมงความน่าจะเป็นจะลดลงอย่างสูง
11. ถ้าเราไปลองดูกราฟทุกคู่ ที่ timeframe week เราจะสังเกตเห็นว่า เมื่อราคาลงไปถึง demand zone ครั้งแรก มันจะเด้ง ถ้าเราซื้อตอนนั้นแล้วรอขายที่ราคาเด้งขึ้นไป กำไรเท่าไรแล้วแต่เราพอใจ ราคาในใจแต่ละคนไม่เท่ากันอยู่ที่การวิเคราะห์และประสบการณ์ กลับกันถ้าราคาขึ้นไปชนแนว Supply Zone เราก็ Sell พอราคาเด้งกลับเราก็หาจังหวะปิดออร์เดอร์
12. หลักการ Demand และ Supply Zone เราต้องอ่านข่าวประกอบ ค่อยๆวิเคราะห์ Global Macro เยอะๆ และคิดว่าถ้ามันไม่เป็นอย่างที่เราคิดละ เราจะทำยังไง
13. วิธีหนึ่งที่ใช้กันคือ money management พอถึง demand หรือ Supply zone เราจะไม่ทุ่มหมดหน้าตัก เราจะวางระยะเผื่อ เผื่อพลาด เผื่อไม่เป็นดังใจ เพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยลง กำไรอาจจะไม่มากเท่ากับทุ่มทีเดียว แต่ก็ตายช้ากว่า

------------------------------------------------------
ยกตัวอย่าง GBPUSD

เมื่อดูกราฟก่อนเกิด Brexit ที่คนอังกฤษ vote ให้แยกตัวจาก Euro Zone ประมาณวันที่ 5 มิย 2016 ราคา GBPUSD ลงมาชน Demand Zone ของของ timeframe week ราคาตอนนี้ใครๆก็ซื้อ

เพราะราคาลงมาต่ำที่สุดในรอบ 31 ปี

พอ vote จบว่าเกิด Brexit ราคากระชากขึ้นและตบลงไป เกือบ 2000 pip หลักของ Demand Zone ก็ใช้ไม่ได้เพราะคนส่วนใหญ่ Panic ตกใจ sell

แต่พอเหตุการณ์เริ่มสงบ รับรู้ข่าวกันไปหมดแล้วก็ค่อยๆขึ้นใช้เวลาเกือบ 2 ปี

ตอนนี้ราคามาถึงแนวต้านก่อนเกิด brexit เราก็ใช้หลัง supply zone ทำกาาร sell GBPUSD แหย่เอาไปดูแล้วออกให้ไว แล้วแต่เราวิเคราาะห์เพื่อชิงจังหวะเก็บกำไรเข้ากระเป๋

ถ้าเป็นผมตอนก่อนเกิด Brexit ผมล้างพอร์ทแน่นอน เรียบร้อย โศกเศร้าแน่ๆถ้ากด buy ไป เพราะเชื่อใน demand supply zone
ดีนะตอนนั้นยังไม่รู้จัก Forex 555

สุดท้ายโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน วิธีใดใดก็ตามช่วงเวลานึงมันใช้ได้ แต่เวลาผ่านไปมันอาจใช้ไม่ได้แล้ว
เพราะต่อไปคนรู้กันเยอะแล้วถ้าใช้วิธีเดิมๆ เราจะได้กำไรยังไง

ตลาดนะไม่ใช่หลักการในหนังสือที่คิดสมการทั้งหมดมาโดยกำหนด ตัวแปรทุกอย่างคงที่
ตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ในตลาดมีเยอะมาก และสำคัญทุกตัว

บอกตัวเองเสมอต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา
การค้าการทำธุรกิจเช่นกัน เปรียบกันตอนนี้มีแต่คนออกมาค้าขาย ค้าขายราคาต่ำ อีกทั้งทุนใหญ่และออนไลน์มาตีราคากดราคา มันคือช่วง Supply มากกว่า Demand คนขายมากกว่าคนซื้อ

ก็ต้องปรับตัวและใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ประคองตัวเอง แล้วระหว่างประคองรอ ก็พัฒนาตัวเองทุกด้านเพื่อรอโอกาสมา

ดังคำเค้าว่ากันมา

โชคคือ การบรรจบกันระหว่าง โอกาส และ การเตรียมพร้อม








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เปรียบเทียบผลตอบแทนและความเสี่ยงการซื้อแฟรนไชส์ร้านกาแฟระดับประเทศกับการลงทุนในหุ้น PTT

เชื่อว่าหลายๆท่านที่ไม่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง ส่วนใหญ่จะมีความฝันอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองซักอย่างนึง อยากเป็นเจ้านายตัวเองไม่ต้องเป็นลูกน...